blog-image-cover-environment

แนวทางลดมลภาวะทางน้ำ ด้วยตัวเรา

09/03/2015 1:31 PM
แนวทางลดมลภาวะทางน้ำ ด้วยตัวเรา

น้ำ เป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำรงชีวิตของคนและสิ่งมีชีวิต

ในอดีตเราสามารถนำน้ำจากแหล่งน้ำตามธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งต่างจากปัจจุบันที่มีปัญหาทางมลภาวะทางน้ำ ทำให้มีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของสิ่งมีชีวิตรวมถึงกระทบต่อวงจรชีวิตของสัตว์น้ำ ซึ่งสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดมลภาวะทางน้ำส่วนหนึ่งเกิดจากการกระทำของคน

ดังนั้นแนวทางลดมลภาวะทางน้ำด้วยตัวเรา จึงถือเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะต้องมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้

แนวทางลดมลภาวะทางน้ำด้วยตัวเรา

  1. แนวทางในการลดมลภาวะทางน้ำด้วยตัวเรา สิ่งแรกที่ต้องทำคือสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์แหล่งน้ำให้กับตัวเองรวมถึงคนในครอบครัว เพราะการแก้ไขปัญหาจากตัวเราเป็นวิธีที่ดีที่สุดและยังเป็นแบบอย่างแก่คนในครอบครัวซึ่งจะค่อยๆขยายไปสู่คนในสังคม
  2. ใช้วิธีธรรมชาติบำบัด โดยการปลูกพืชน้ำเพื่อช่วยลดการเน่าเสียของน้ำ
  3. ไม่ทิ้งขยะมูลฝอย น้ำเสีย หรือของเสียลงสู่แหล่งน้ำและทางระบายน้ำสาธารณะ
  4. ลดปริมาณการใช้น้ำในชีวิตประจำวันลง หรือนำน้ำใช้แล้วไปใช้ประโยชน์ด้านอื่นๆ เช่น นำน้ำที่ใช้ซักผ้า หรือน้ำที่ใช้ล้างจานไปรดต้นไม้
  5. ไม่ปล่อยน้ำเสียที่เกิดจากการซักล้างลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ
  6. ช่วยกันรณรงค์ให้ให้องค์กรต่างๆ เช่นโรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล และองค์กรอื่นๆ มีระบบบำบัดน้ำเสีย มีบ่อดักกรองไขมัน เพื่อนำไขมันไปจัดการให้ถูกวิธี
  7. ช่วยกันเฝ้าระวัง สอดส่องดูแลร่วมกับภาครัฐไม่ให้มีการระบายน้ำเน่าเสียลงในบริเวณพื้นที่ใกล้เคียง
  8. ลดการใช้สารเคมีในพื้นที่ทำการเกษตร เพื่อป้องกันสารพิษตกค้างในพื้นดิน เมื่อฝนอาจพัดพาเอาสารพิษที่ตกค้างลงสู่แม่น้ำลำคลอง ซึ่งเป็นปัญหาทำให้เกิดมลพิษทางน้ำขึ้นได้
  9. ใช้อีเอ็มบอล หรือจุลินทรีย์ก้อน ใส่ลงในแหล่งน้ำเพื่อช่วยบำบัดน้ำเสีย ดับกลิ่นเหม็น และเพื่อสลายไขมันที่ปนเปื้อนอยู่ในน้ำ
  10. เปลี่ยนสูตรผงซักฟอกให้เป็นชนิดที่ไร้สารประกอบจากฟอสเฟต เพื่อลดสารประกอบฟอสฟอรัสในน้ำเสีย

แนวทางในการแก้ไขมลภาวะทางน้ำด้วยตัวเราเอง เป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ซึ่งการแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสียให้ได้ผลดี ต้องสืบหาสาเหตุของปัญหาว่าน้ำเน่าเสียนั้นเสียก่อนว่าเกิดจากปัญหาใด เพื่อนำมาแก้ไขให้ถูกต้องต่อไป

อย่างไรก็ดีแนวทางการแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสีย ต้องทำควบคู่ไปกับการป้องกันจึงจะเป็นการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน

 

เรียนรู้เพิ่มเติม

ประเภท

คลังบทความ